ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
               ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2465  ณ บริเวณหมู่บ้านนาราบ  หมู่ที่ 1 ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย  โดยประชาชนหมู่ที่ 1 บ้านนาราบ หมู่ที่2 บ้านดอนไชย หมู่ที่ 3 บ้านนาหลวง ตำบลนาน้อย และหมู่ที่ 6 บ้านทุ่งแล้ง ตำบลศรีษะเกษ ร่วมกันก่อสร้างอาคารเป็นอาคารเรียนชั่วคราว กว้าง 8 เมตร ยาว 14 เมตร ฝาขัดแตะ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา อยู่ในบริเวณพื้นที่ 1.5 ไร่ โต๊ะและม้านั่งใช้ไม้หลักฝังดิน มีแป้นไม้ทำเป็นที่รองเขียนและรองนั่ง แล้วพร้อมกับตั้งชื่อโรงเรียนว่า “ โรงเรียนบำรุงราษฎร์ ”  มอบให้กระทรวงธรรมการดำเนินการ ใช้เป็นสถานที่เรียนสำหรับบุตรหลานต่อไป เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมูลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีครูทำการสอนเริ่มแรกคือ
 
1.    นายบุญผาย ไชยศรี                                    เป็นครูใหญ่
2.    นายบุญผาย  ใจจะดี                                   
3.    นางสาวสร้อยเล็ก  นันทวาสน์
4.    นางสาวบัวผัน  ทัยศิลป์
5.    นายเธียร  สุวรรณจันทร์
 
               พ.ศ. 2478  ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารขึ้นใหม่เป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูงมีมุข หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด (ไม้)ตั้งชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนประชาบาล” ประจำตำบลนาน้อย(จุลเกษตรศึกษาคาร)  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมูลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 คำว่า“จุลเกษตรศึกษาคาร” นั้น ขุนกิจ ธนสาร ซึ่งเป็นนายอำเภอขณะนั้นเป็นผู้ตั้งโดยมาจาก จุล  แปลว่า เล็ก, น้อย อำเภอนาน้อย (มีนาทำน้อย)
 
                เกษตร แปลว่า การทำกสิกรรม ทำนา ปลูกพืชไร่ สวน โดยมีจุดมุ่งหมายในสถานที่ศึกษาสำหรับบุตรหลานของประชาชนชาวอำเภอนาน้อย ที่มีอาชีพส่วนมากในด้านการทำเกษตรทำกสิกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน
 
                โรงเรียนตั้งอยู่ในหมู่บ้านนาราบ เลขที่ 48 หมู่ที่ 1 ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ในเขตเทศบาล ติดกับที่ว่าการอำเภอนาน้อย สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาน้อย มีบ้านพักข้าราชการ แฟลต ตลาด ร้านค้า  อยู่โดยรอบบริเวณโรงเรียน
 
                ฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปกครองนักเรียนโดยรวม มีสภาพของเศรษฐกิจ มีนักเรียนเป็นบุตรหลานของข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ที่มีฐานะดี เข้ามาเรียน ชุมชน เป็นชุมชนเมือง คล่องตัวทางด้านเศรษฐกิจ มีตลาดร้านค้ารองรับ
 
พื้นที่อาณาเขต
พื้นที่                     7  ไร่  2 งาน  90 ตารางวา
ทิศเหนือ                ติดต่อกับตลาด บ้านผู้ปกครองนักเรียน
ทิศใต้                    ติดต่อกับที่ว่าการอำเภอนาน้อย สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาน้อย ตลาดร้านค้า
ทิศตะวันออก          ติดต่อกับถนนทางหลวง หมายเลข 1260 (ถนนเจ้าฟ้า) แฟลตที่พักของข้าราชการ
ทิศตะวันตก            ติดต่อกับทางสาธารณะประโยชน์และบ้านของผู้ปกครองนักเรียน
 
                ลักษณะพื้นที่เป็นที่ลาดเอียง จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดปลูกสร้างอาคารเต็มพื้นที่ไม่มีบริเวณพื้นที่ทำการเกษตร